วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ

1.Classroom management 
                จากความเข้าใจความหมาย  คือ การจัดการกับห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพที่สุดที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งต้องอาศัยทั้งทางด้านผู้สอนและผู้เรียนที่ที่ต้องร่วมมือกันโดยจะมีครูเป็นแกนนำและคอยชี้แนะนักเรียนรวมไปถึงการต้องมีกระบวนการในการปรับปรุงห้องเรียน จัดภูมิทัศน์ของโรงเรียน  ให้มีลักษณะของห้องเรียนที่ดี  จนทำให้นักเรียนมีความร่วมมือด้วยและครูมีหน้าที่สำคัญในการจัดการชั้นเรียนคือ  การจัดการเรียนสอนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  ให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา  นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนได้  โดยอาจจะมีการให้คำชมเชยหรือให้รางวัลดังนั้นการจัดการชั้นเรียนที่ดีครูควรมีการจัดระบบ วางแผนและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ  จากความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู  มีความเข้าใจว่าคนที่จะเป็นครูได้จะต้องมีทั้งความรู้มีประสบการณ์  มีแนวทางที่ใช้ในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนให้เหมาะสมและดีที่สุดที่เหมาะกับการเป็นครู  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะเป็นเครื่องบ่งบอกว่าคนนั้นสามารถเป็นครูได้อย่างมีมาตรฐาน ดังนั้นความรู้ของครูก็จะเป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างดีและถูกต้องและก่อนที่จะไปเป็นครูก็ควรมีการฝึกประสบการณ์ครูเพื่อเมื่อไปเป็นครูจริงๆจะสามารถดำเนินและทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งรวมไปถึงว่าการฝึกประสบการณ์จะไม่ใช่แค่ฝึกสอนแต่จะรวมไปถึงการฝึกการปฏิบัติงานและตนเองเพื่อเตรียมตัวกับการทำงาน เช่นหากเมื่อมีการสอนในชั่วโมงการสอนศาสนาซึ่งเป็นวิชาที่น่าเบื่อ  ทำให้นักเรียนไม่สนใจที่จะเรียน  จากการที่มีมาตรฐานวิชาชีพครู  ซึ่งจะมีการฝึกประสบการณ์มาแล้วทำให้เราสามารถจัดการกับการเรียนการสอนที่นักเรียนเบื่อหน่ายด้วยการ  หาวิธีการให้นักเรียนมีความสนใจและมีส่วนร่วมอยู่ตลอด  หรือไม่ก็หาสิ่งจูงใจให้แก่นักเรียน  และสิ่งเหล่านี้จะทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายและกลับมาสนใจการเรียนอีกด้วย

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
แนวคิดในการจัดการในชั้นเรียนที่จะมีประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนจะมีกระบวนการในการจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ความสะอาด ความปลอดภัย
2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนาม
เด็กเล่น ฯลฯ
5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและ
เครื่องเล่น
        6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

   ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
1. มีสีสันที่สวยงาม
2. จัดโต๊ะ เก้าอี้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน
3. ให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข
4. จัดประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้พร้อมต่อการสอน
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น สร้างความเป็นกันเอง

4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
จัดบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเรียนรู้ผ่านการเล่นที่น่าสนใจ สนุกสนาน โดยได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุง ดังนี้.-
1. ภายในห้องเรียน เน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีมุมประสบการณ์ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุม ประสบการณ์ เช่น มุมบ้าน มุมหนังสือ มุมดนตรีเป็นต้น นอกจากนี้ ทางโรงเรียนได้ จัดทำห้องน้ำห้องส้วมไว้ภายในห้องเรียน เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของเด็ก
2. ภายนอกห้องเรียน จัดตกแต่งสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ หน้าอาคารเรียนจัดให้มีสระน้ำเพื่อเลี้ยงปลา และมีสวนหย่อมด้านหน้าเพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลิน เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็กหลักสำคัญในการจัดต้องยึดหลักการสะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้าหมายการเรียน ความเป็น
ระเบียบ สวยงาม ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมีความสุขซึ่งอาจจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมตามแนวการจัดประสบการณ์ได้ดังนี้
. พื้นที่จัดเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เด็กและครู เช่น มุมแสดงผลงานของเด็ก มุมไว้เครื่องใช้กระเป๋า รองเท้าเด็ก มุมจัดความรู้ตามแผน (หน่วย) มุมแขวนผ้าเช็ดมือแก้วน้ำ
มุมปิดประกาศ มุมเก็บอุปกรณ์ มุมสุขสันต์วันเกิด มุมเก็บแฟ้มสะสมงานของเด็ก
. พื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมและการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นที่ว่างสำหรับเด็ก อยู่ รวมกลุ่มกันได้ เช่น กิจกรรมวงกลม กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ และอาจใช้เป็นที่ นอนของเด็กในเวลากลางวันได้ด้วย
. มุมต่างๆ ในกิจกรรมหลักและกิจกรรมเสรี เช่น มุมสร้างสรรค์ เกมการศึกษา มุมบ้านหรือ มุมบทบาทสมมุติ มุมบล็อค มุมหนังสือ มุมอ่านเขียน มุมฟัง และเล่นเทป และมุมวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การจัดมุมต่างๆ เหล่านี้ครูสามารถจัดได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพห้องเรียน เนื้อหาตามแผนการจัดประสบการณ์หรือจัดตามความสนใจของเด็ก และอย่างน้อยในแต่ละวันควรมีมุมที่จัดให้เด็กอย่างน้อยที่สุด
3 มุม และมุมที่ควรมีประจำ คือ มุมบ้าน มุมบล็อกและมุมหนังสือการจัดมุมต่าง ๆ ควรจัดชิดกับแถบผนังในแต่ละด้านเพื่อให้เหลือเนื้อที่จัดกิจกรรมมากที่สุด โดยใช้ชั้นหรือฉากกั้นในแต่ละมุม มีอุปกรณ์ประกอบให้เด็กเล่นด้วยกันเป็นกลุ่มเด็กๆ ดังตัวอย่างการจัดมุมเล่น ดังนี้
มุมบล็อก เป็นมุมที่เด็กได้เล่นกับวัสดุรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งทำด้วยไม้ พลาสติกผ้า ฟองน้ำ หรือกระดาษ โดยไม่มีใครต้องสอน เด็กจะสร้างทุกสิ่งรอบ ๆ ตัวเขาตามจินตนาการในโลกของเด็กเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม และความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ เด็กจะเริ่มการเล่นขั้นสำรวจตัวบล็อกเพียงอันเดียว ทดลองขว้าง โยน ผลักดัน เหยียบ จนถึงขั้นสุดท้าย อายุประมาณ5 ขวบขึ้นไป การเล่นบล็อกจะเริ่มที่จะเป็นการสร้างสิ่งใหม่ ๆ หรือแสดงถึงโครงสร้างที่เป็นจริง ครูผู้ดูแลเด็กควรจัดวางอุปกรณ์เพื่อช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ระหว่างการเล่น เช่น กล่อง หลอดด้าย ขวดพลาสติก อิฐ หิน หุ่นจำลอง ไม้ไผ่ เศษผ้า ยางยืด
เป็นต้น ครูผู้ดูแลเด็กควรมีข้อตกลงกับเด็กทุกครั้งที่เล่นแล้วให้เก็บเข้าที่ครูผู้ดูแลเด็กสามารถจัดให้เด็กช่วยทำความสะอาดบล็อกโดยจัดแบ่งหน้าที่และกำหนดเวลา ที่จะทำงานนี้ให้สำเร็จประมาณ 10 นาที และหากทำไม่สำเร็จ เพิ่มเวลาให้อีกครั้งละ 5 นาทีจนทำสำเร็จ
วัตถุประสงค์ ในการจัดมุมบล็อก มีดังนี้.-
1. ให้เด็กได้เล่นอย่างสนุกสนาน มีการวางแผนและแก้ปัญหาด้วยตนเองหรือโดยกลุ่ม
2. ให้เด็กได้ใช้สรีระเคลื่อนไหวอย่างอิสระ
3. ให้เด็กได้พัฒนาการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก โดยการทำงาน และสร้างงานด้วยบล็อก
4. ให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมติ สถานการณ์ต่าง ๆ
5. ให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะแบ่งปันความคิด และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในขณะที่ผลัดเปลี่ยนกันใช้บล็อก
6. เพื่อพัฒนาการยอมรับอย่างจริงใจในงานของคนอื่น
7. เพื่อพัฒนาการความคิดรวบยอดทางด้าน คณิตศาสตร์การคำนวณ เช่น ด้านใหญ่ เล็ก มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน รูปร่าง ขนาด และจำนวน
8. พัฒนาความเข้าใจเรื่องด้านหรือเหลี่ยมตรงข้ามที่เหมือนกัน
9. เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สร้างสรรค์ตามความคิดของเด็กตามที่เด็กมองเห็น
10. เพื่อให้เด็กค้นหาการเคลื่อนที่และความสมดุลจากสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมามุมบล็อก สามารถจัดทำได้ง่ายและเป็นประโยชน์กับเด็กหลายประการ และควรให้โอกาสเด็กในการแสดงผลงานต่อเพื่อน ๆ
มุมบ้าน เป็นมุมที่เด็กเล่นเลียนแบบชีวิตจริง ซึ่งมีประสบการณ์เคยได้พบเห็นมา แต่อาจไม่เคยได้ทดลอง ดังนั้น เด็กอาจจะมีความต้องการซ่อนเร้นอยู่ และหากจัดสถานการณ์จำลองสนองความต้องการของเด็ก ก็จะทำให้มีความสุข ครูผู้ดูแลเด็กอาจจัดบทบาท สมมติไว้ในมุมบ้าน หรือจัดไว้ใกล้ๆ กัน เด็กจะแสดงบทบาทสมมติตามที่เด็กเกิดจินตนาการ เด็กจะสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม จะพัฒนาภาษาพูดแก้ปัญหาที่เกิด และให้ความร่วมมือในการเล่นกับเพื่อน ดังนั้น ควรจัดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเลียนแบบผู้ใหญ่ หรือชุดละครที่มีหน้ากากหลายรูปแบบ จัดกระจกเครื่องแต่งหน้า เครื่องครัว โต๊ะอาหาร ฯลฯ
วัตถุประสงค์ ของการจัดมุมบ้าน คือ
1. เพื่อแสดงเลียนแบบชีวิตตามที่ได้พบเห็นมา
2. เพื่อแสดงออกทางอารมณ์ และความรู้สึกโดยที่รับการยอมรับจากผู้ใหญ่
             3. เพื่อมีปฏิสัมพันธ์หลายบทบาท
4. เพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กและผู้ใหญ่ในสถานการณ์หลาย ๆ ไม่เป็นทางการ
5. เพื่อพัฒนาภาษาพูดโดยแสดงออกทางสร้างสรรค์
6. เพื่อเลียนบทบาทจากนิทาน ภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์
7. เพื่อให้เด็กเกิดความกล้าที่จะแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ในขณะที่ใส่หน้ากาก
8. เพื่อพัฒนาเทคนิคการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
9. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมให้ปรากฏชัด
10. เพื่อให้เด็กเกิดความสุขสนุกสนานในขณะที่เล่นกับเพื่อน
         
  มุมหนังสือ เป็นมุมสงบควรจัดให้อยู่ห่างจากมุมบ้าน หรือมุมบล็อค จัดที่นั่งหรือที่นอนสบาย ๆ เพื่อให้เด็กมีสมาชิกและใช้ความคิด มีเสื่อ ผ้าปูรองนั่ง หมอนอิงเพื่อสร้างบรรยากาศ มีชั้นจัดวางหนังสือให้เป็นระเบียบ สามารถเลือกดูหนังสือได้ง่ายจัดหนังสือไว้หลายประเภท เช่น หนังสือนิทาน หนังสือภาพ หนังสือการ์ตูน แมกกาซีนและแคตตาลอค สวยงาม เพื่อจูงใจให้เด็กอยากจับต้องเปิดดู เป็นการปูพื้นฐานนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก ควรเล่านิทาน หรือเล่าเรื่องให้เด็กฟัง แล้วจัดวางหนังสือไว้เพื่อให้เด็กหยิบไปอ่านได้ จัดทำโครงการหมุนเวียนหนังสือกันอ่าน โดยให้เด็กนำหนังสือมาจากบ้านหรือยืมจากที่โรงเรียนไปอ่านที่พัก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ มีส่วนร่วมในการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ซึ่งเด็กสามารถจะฟังหนังสือเรื่องเดียวกันหลายครั้งหากเด็กชอบนอกจากนั้นควรจัดให้มีมุมฟัง โดยมีเครื่องเล่นเทป เทป วิทยุ และหูฟัง เป็นต้น อาจจัดโต๊ะรักการอ่าน และเขียนไว้ข้างๆ มุมหนังสือ โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบ เช่นดินสอ ไม้บรรทัด สี กรรไกร สก็อตเทป ที่เย็บกระดาษ กาว กระดาษ เพื่อให้เด็กหัดสร้างหนังสือและเก็บไว้อ่านภายในห้องเรียน ต่อไปภายหน้า หากมีจำนวนหนังสือมากพออาจพัฒนาเป็นห้องสมุดเล็ก ๆ ภายในห้องเรียน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การเลือกใช้และยืมหนังสือจากห้องสมุด ได้เรียนรู้หลักเกณฑ์และมารยาทในการใช้ห้องสมุด
วัตถุประสงค์
1. ให้เด็กรักการอ่าน - เขียน
2. รู้จักใช้วิธีและดูแลรักษาหนังสือ
3. มีมารยาทและสมาธิในการอ่านหนังสือ
4. มีความรับผิดชอบและรักษาระเบียบการใช้หนังสือ
5. เรียนรู้ความหลากหลายของภาษาในภาษาของตนเอง เช่น คำกลอน คำโฆษณา ข่าวสารต่างๆ เป็นต้นสำหรับมุมอื่นๆ อาจจัดได้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็กหรือจัดให้สอดคล้องกับแผนการสอน โดยต้องคำนึงพัฒนาการตามวัยของเด็ก ศักยภาพที่แตกต่างกัน และหลักการเรียนรู้โดยยึดหลักการการเรียนการเล่นให้เกิดประสบการณ์ ให้เด็กคิดค้นคว้าทดลองหาความจริงในลักษณะกลุ่ม หรือรายบุคคล เด็ก และควรมีกิจกรรมร่วมกัน มีการยอมรับในศักดิ์ศรีและความคิดเห็นของเด็ก และภายใต้กฎเกณฑ์ที่ร่วมกันสร้างขึ้น
แนวทางปฏิบัติเพื่อปรับพฤติกรรมของเด็กให้มีวินัยในห้องเรียน
1. ทำข้อตกลงในการปฏิบัติตนภายในห้องเรียน เพื่อเด็กจะได้ทราบความคาดหวังของพฤติกรรมเด็ก โดยข้อตกลงต้องเป็นการพิจารณารวมกันระหว่างครูผู้ดูแลเด็กและเด็ก เมื่อมีการทำผิดข้อตกลง ก็มีการทบทวนด้วยวิธีการใหม่ เพื่อจะได้ไม่เป็นการบ่น พูดซ้ำซากพร่ำเพรื่อ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และมีอารมณ์อยากต่อต้าน
2. เมื่อมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกิดขึ้น ศึกษาสาเหตุให้ชัดเจน แล้วช่วยกันคิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีวิถีทางในการแก้ปัญหาหลากหลาย โดยมุ่งไปที่จุดหมายเดียวกัน คือ แก้ปัญหานั้นได้เพื่อเป็นแนวทางในการให้เด็กคิดแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองต่อไป พฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้ากิจกรรมในห้องเรียนทำสิ่งที่ซ้ำๆ ไม่น่าสนใจ ต่ำกว่าความสามารถของเด็ก หรือสูงกว่าความสามารถของเด็กที่จะทำได้สำเร็จ เด็กก็จะหาทางออกไปทำอย่างอื่น ที่ก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมตามมา ดังนั้น ต้องศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมให้พบก่อนจึงจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด
3. ครูผู้ดูแลเด็กต้องเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก มีข้อตกลงในการปฏิบัติอย่างไร ครูผู้ดูแลเด็กควรจะเป็นตัวอย่างในเรื่องเหล่านั้นสำหรับเด็กได้
4. ครูผู้ดูแลเด็กต้องมีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติต่อเด็กทุกคนโดยเท่า
เทียมกัน มีความยุติธรรมในการตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยเหตุผลหลักการ
5. ให้เด็กรู้แผนงานในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ เพื่อเด็กจะได้มีความรู้สึก
มั่นคง เพราะได้รู้ว่าเขาต้องทำกิจกรรมอะไรบ้างในวันนั้น สัปดาห์นั้น ช่วยให้ได้
เตรียมตัวเตรียมใจในการทำกิจกรรมได้ดี
6. เมื่อมีพฤติกรรมต่างๆ เกิดขึ้นที่เรียกร้องความสนใจจากครูผู้ดูแลเด็กตลอดเวลา ครูผู้ดูแลเด็กอาจจะต้องใช้วิธีการเมินเฉยไม่สนใจ ถ้าครูผู้ดูแลเด็กทราบว่าพฤติกรรมนั้นไม่ได้มีอันตรายใดๆ เด็กทำเพื่ออยากให้ครูผู้ดูแลเด็ก อยากให้เพื่อนสนใจ การไม่ให้ความสนใจ บางครั้งก็ช่วยหยุดพฤติกรรมนั้นๆ ได้ ในทำนองเดียวกันถ้ามีพฤติกรรมอะไร ที่ครูผู้ดูแลเด็กเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ต่อบุคคลอื่น ก็ต้องเข้าไปจัดการทันที หยุดพฤติกรรมนั้น เมื่อเด็กสงบแล้วจึงพูดคุยด้วย สอบถามสาเหตุและช่วยกันคิดหาแนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ
7. สิ่งแวดล้อมที่ดี สภาพแวดล้อมภายในห้องที่อบอุ่น เต็มไปด้วยความรักความเข้าใจ ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะช่วยให้เด็กมีจิตที่สงบ ทำกิจกรรมต่างๆผ่านไปได้ด้วยดี
8. มีมุมสงบให้เด็กได้มีเวลาไปนั่งสงบจิตสงบใจ เมื่อเกิดอารมณ์เสียไม่พอใจ หรือเป็นต้นเหตุในการทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในห้อง โดยมุมนี้ไม่ใช่มุมทำโทษ แต่เป็นมุมที่เด็กจะเข้าไปนั่งทำใจให้สงบ โดยไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนสมาธิอาจจะทำเป็นบ้านหลังเล็กๆ ในห้องเรียน เด็กโมโหไม่พอใจ จะเข้าไปนั่ง เป็นที่รู้กันในห้องว่าเพื่อนคนอื่นจะไม่เข้าไปรบกวน พอเด็กรู้สึกว่าสบายใจเด็กก็จะเดินออกมาเองและเข้าร่วมกิจกรรมของห้องเรียนต่อไป__

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดการในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1.  ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย
  2.  ทำให้มีความสามัคคี ปรองดองกัน ในหมู่นักเรียน
  3.  ทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
  4.  ทำให้ผู้เรียนรู้จักควบคุมดูแลและปกครองตนเองตามหลักประชาธิปไตย
  5.  ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
                 มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
1.1 มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
           การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
             โดยทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม 
             การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
             1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
             2. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
             3. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
             4. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
             5. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
             ทางโรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
             1. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
             2. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
             3. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
             เป็นการปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
             นักเรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น