วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5

สิ่งที่ได้จากบทความเรื่อง “ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้ ”
                บทความของ  บรรเจอดพร   รัตนพันธุ์  คณะทำงาน รมช.ศธ

ต้นแบบ ไม่จำเป็นว่าต้องมีองค์กรใดมารับรองหรือเชิดชูว่าเป็นต้นแบบ  ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้  ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น    ดังนั้นต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ หรืออีกนัยหนึ่ง ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ ได้เห็น ได้รับฟังต่อ ๆ กันมา  ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ก็อาจเป็นแรงบันดาลใจ แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอดเพราะวิญญาณแห่งต้นแบบ  


จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง...
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากบทความเรื่อง “ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้ ” มาใช้ในกรพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะอยู่กับพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนๆ หรืบุคคลใด เราก็สามารถดูแบบอย่างที่ดีแล้วมาพัฒนาใช้กับตัวเรา เพื่อใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและสามรถพัฒนาสังคมให้มีความก้าวหน้าได้ หรือในด้านการเรียนของดิฉัน เพราะดิฉันเรียนในสายวิชาชีพครู ซึ่งจะต้องเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ และจะต้องทำให้ดีที่สุด
ดังที่พระมหากษัตริย์ของเรามี ต้นแบบ ที่ทรงคุณมหาศาลที่หล่อหลอมพระองค์ท่านให้เป็นกษัตริย์ที่สถิตในดวงใจของปวงชนชาวไทย นั่นคือ  “ สมเด็จย่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น